กิจกรรมจิตอาสา ชั้นปีที่ 5 (ชาย) - ร.ท.ธวัชชัย แก้วอุดร
แผนบทเรียน วิชากิจกรรมจิตอาสา ชั้นปีที่ 5 (ชาย) ปีการศึกษา 2566
เรื่อง
- 1. ความหมาย รด.จิตอาสา
- 2. การใช้งาน รด.จิตอาสา ( 5 กลุ่มงาน )
- 3. การจัดตั้งองค์กร รด.จิตอาสา
วิชา จิตอาสา
ชั่วโมงสอนทั้งสิ้น 4 ชั่วโมง
หลักสูตร นศท. ชั้นปีที่ 5 (ชาย)
วิธีการสอน สช.
ครู/อาจารย์
1. ร.ท.ธวัชชัย แก้วอุดร
ครูผู้ช่วย
1. จ.ส.อ.กิตติศักดิ์ สุขจันทร์
2. จ.ส.ต.ชยวิชญ์ ศรีผดุง
การจัดการสอน
การสอนครั้งที่ | วัน เดือน ปี | เวลาที่สอน | สถานที่สอน | จำนวนนักเรียน | ครูผู้สอน | ครูผู้ช่วย/ผู้ช่วยครู |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1-3 พ.ย.66 | 0800 - 1200] | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | ร.ท.ธวัชชัย แก้วอุดร | จ.ส.อ.กิตติศักดิ์ สุขจันทร์
จ.ส.ต.ชยวิชญ์ ศรีผดุง |
หลักฐานที่ใช้สอน
1. เอกสาร รด.จิตอาสา ของ นรด.
2. โครงการ รด.จิตอาสา ของ ศฝ.นศท.มทบ.21
3. คู่มือนักศึกษาวิชาทหารชาย ชั้นปีที่ 5 (ชาย)
สื่อการเรียนการสอน/เครื่องช่วยฝึก
- 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ ประกอบการเรียนการสอน เพาเวอร์พอยท์
- 2. ครื่องฉายภาพโปรเจ้คเตอร์ พร้อมจอ
- 3. โทรศัพท์มือถือ/แทบเล็ต ( ดาว์โหลดแอปพิเคชั่นได้ที่ www.tdc.mi.th/pdf/AR/Handbook_AR_NST_3.pdf )
- 4. กระดาษฟลิบชาร์ท
- 5. ปากกาเคมี
- 6. กระดานไวท์บอร์ด
การแต่งกาย ชุดฝึก
ความมุ่งหมาย
- 1. เพื่อจัดตั้งองค์กร “รด.จิตอาสา” ที่มีความสมัครใจ ในทุกพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา และ จ.ชัยภูมิ โดย รด.จิตอาสา ต้องสามารถติดต่อได้ ควบคุมได้ และใช้งานได้
- 2. เพื่อใช้งาน “รด.จิตอาสา” ในการสร้างการรับรู้ และเป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์ การขับเคลื่อนประเทศของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชน ตามขีดความสามารถ
- 3. เพื่อปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม และชาติบ้านเมือง ให้กับนักศึกษาวิชาทหาร และมีส่วนกระตุ้นสำนึกของคนในชาติ ให้ตระหนักถึงความมีจิตอาสา รับผิดชอบต่อส่วนรวม และบ้านเมือง
จุดประสงค์การเรียนรู้
- 1. (ความรู้ : K) นักศึกษาวิชาทหารทุกนายมีความรู้และความเข้าใจในความหมายของคำว่า รด.จิตอาสา
- 2. (ทักษะ : P) นักศึกษาวิชาทหารทุกนายเป็นผู้มีจิตอาสา/จิตสาธารณะ ในการเข้าไปช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ด้วยการกระทำที่ออกมาจากหัวใจที่เป็นจิตอาสา
- 3. (จิตใจ : A) นักศึกษาวิชาทหารทุกนายเป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
หัวข้อการสอน | |||||
ชั่วโมงการสอน | เรื่องที่ทำการสอน | วิธีการสอน | เวลา (นาที) | หมายเหตุ | |
ชั่วโมงที่ 1 | 1. กล่าวนำ แนะนำตัว แจ้งวัตถุประสงค์ และวิธีการสอน
- กล่าวนำ แนะนำตัว - แจ้งวัตถุประสงค์ และวิธีการสอน - การทดสอบความรู้ก่อนเรียน (Pre-test) |
20 นาที
5 5 10 |
|||
2.รด.จิตอาสา
- บทบาทและความสำคัญของนักศึกษาวิชาทหาร ต่อความมั่นคงของชาติ - ฝึกอบรมหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารบรรเทาสาธารณภัย หลักสูตร นักศึกษา วิชาทหารจราจร และหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารพยาบาล เป็นต้น ให้พร้อมสำหรับการ ช่วยเหลือประชาชน - อบรมการเป็นพลเมืองคุณภาพ. 3. การใช้งานนักศึกษาวิชาทหาร (5 กลุ่มงาน) (ต.ค.65 – ก.ย.66) - การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ กิจกรรมปกป้องการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น - งานช่วยเหลือสังคมตามขีดความสามารถของ นศท. (รด.จิตอาสา) เช่น กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์สถานที่สำคัญ โบราณสถาน วัด ชุมชน การช่วยเหลือด้านการจราจร (รด.จิตอาสาจราจร) เป็นต้น - งานการบรรเทาสาธารณภัย เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้ำท่วม เป็นต้น โดยใช้ รด.จิตอาสา ที่ฝึกอบรมแล้ว ลงพื้นที่ปฏิบัติงานหรือร่วมกับหน่วยอื่น ๆ ทั้งนี้ต้องเป็นงานที่อยู่ใน ขีดความสามารถ และปลอดภัย -งานสร้างการรับรู้ : พลเมืองคุณภาพ โดยให้มีการอบรม รด.จิตอาสา ให้มีความรู้และมีข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำไปขยายผล ส่สถานศึกษา ชุมชน ทั้งนี้ รด.จิตอาสา -งานสร้างความปรองดองสมานฉันท์ : โดย รด.จิตอาสา จัดกิจกรรมขึ้นเอง ตามแนวความคิด หรือการเข้าร่วมกับ ชป.มวลชน ของหน่วยทหารที่รับผิดชอบพื้นที่ หรือการให้ความร่วมมือศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) |
30 นาที | ||||
2. พักประจำชั่วโมง | 10 | ||||
ชั่วโมงที่ 2 | 1.การจัดตั้งองค์กร รด.จิตอาสา (ต.ค.66 – พ.ย.66)
- จัดตั้งองค์กร รด.จิตอาสา โดยเริ่มตั้งแต่การฝึกภาคปกติปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป - จัดตั้งองค์กร นักศึกษาวิชาทหาร ที่เป็นรูปธรรม สามารถควบคุมได้ ติดต่อได้ใช้งานได้จริง พร้อมที่จะเป็นแกนนำปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหาร หรือส่วนราชการอื่นๆ ในการช่วยเหลือประชาชน การเป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศ - - - คัดเลือกนักศึกษาวิชาทหาร ที่มีความสมัครใจ มีจิตสาธารณะ มีความพร้อม มีความเสียสละ เป็น รด.จิตอาสา โดยกรอกใบสมัครตามแบบฟอร์ม - จัดตั้งองค์กรนักศึกษาวิชาทหาร ตามจำนวนที่สมัครใจ ในสถานศึกษาอำเภอนั้น ๆ โดยกำหนดให้ รด.จิตอาสา 1 หมู่ มี 10 คน, 2 หมู่ เป็น 1 หมวด, 2 หมวด เป็น 1 กองร้อย - ศฝ.นศท.มทบ.21 จัดครูฝึกเป็นที่ปรึกษา และผู้ประสานงาน โดยเฉพาะการประสานงานกับอำเภอ ในการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยจัดตั้ง บก.ควบคุม รด.จิตอาสา ขึ้น - จัดตั้งข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และประหยัด รวดเร็ว เช่น ไลน์ (Line) เฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นต้น โดยสัสดีเขต/อำเภอ จัดตั้ง บก.ควบคุม รด.จิตอาสา อำเภอ เพื่อ ควบคุมทางบัญชี รด.จิตอาสา ในความรับผิดชอบ |
50 นาที | |||
2. พักประจำชั่วโมง | 10 | ||||
ชั่วโมงที่ 3 | 1.การแบ่งกลุ่ม นศท.ค้นหาข้อมูลในเรื่องที่แบ่งมอบ
- กลุ่มที่ 1 ความหมาย รด.จิตอาสา - กลุ่มที่ 2 การใช้งาน รด.จิอาสา ( 5 กลุ่มงาน ) - กลุ่มที่ 3 การจัดตั้งองค์กร รด.จิตอาสา |
50 นาที | |||
2. พักประจำชั่วโมง | 10 | ||||
ชั่วโมงที่ 4 | การบรรยายและประเมินผล | 50 นาที | |||
1. สรุป | 5 | ||||
2. การบรรยายหน้าชั้นเรียนของ นศท. | 30 | ||||
3. สรุปทบทวน | 5 | ||||
4. การประเมินผลจากการบรรยายของ นศท. | 10 | ||||
2. พักประจำชั่วโมง | 10 |
- เอกสาร/คู่มือ/ตำราประกอบการสอน
- 1. เอกสาร รด.จิตอาสา ของ นรด.
- 2. โครงการ รด.จิตอาสา ของ ศฝ.นศท.มทบ.21
- 3. คู่มือนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 5 (ชาย)
การสอนครั้งที่ | ปัญหาข้อขัดข้อง | ข้อเสนอแนะ | ผู้บันทึก |
---|---|---|---|
1 | |||
2 | |||
3 | |||
4 | |||
5 |