โครงการ รด.จิตอาสา - ฝ่ายกิจการพลเรือน

จาก ส่วนการศึกษา ศฝ.นศท.มทบ.21
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

โครงการ รด.จิตอาสา

ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 21

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

๑. หลักการและเหตุผล

   สภาพสังคมปัจจุบันนี้ความเจริญทางวัตถุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สังคมเกิดค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับอำนาจเงินทองมากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับจิตใจและจิตสำนึกสาธารณะ ส่งผลให้ผู้คนละเลยการปฏิบัติ

หน้าที่เป็นจิตอาสา นำมาซึ่งสภาพสังคมที่เสื่อมโทรม ดังนั้นการที่จะพัฒนาและยกระดับจิตใจของบุคคลให้มี

ความเจริญและมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการปลูกฝังให้เยาวชนเป็นผู้มีจิตสาธารณะ มีความเสียสละ

อาสาช่วยเหลือผู้อื่น และมีจิตอาสาทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมช่วยเหลือสังคมตามกำลังความสามารถด้วย

ความสียสละแรงกาย แรงใจและสติปัญญา หรือลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์สังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้

   ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ มีภารกิจดำเนินการฝึกนักศึกษาวิชาทหารให้เป็น

กำลังสำรองที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาวิชาทหารเป็นผู้มีจิตอาสา ปฏิบัติงานเพื่อสังคม

รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการทำกิจกรรม "เราทำความดีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ให้กับบุคคลทั่วไป ซึ่งจะนำไปสู่

ความมั่นคงของชาติได้

๒. วัตถุประสงค์

       ๒.๑ เพื่อจัดตั้งองค์กร "รด.จิตอาสา" ในสังกัด มณฑลทหารบกที่ ๒๑ โดย รด.จิตอาสา ต้องสามารถติดต่อได้ ควบคุมได้ และใช้งานได้

       ๒.๒ เพื่อใช้งาน "รด.จิตอาสา" ในการสร้างการรับรู้ และเป็นสื่อการในการประสาสัมพันธ์การขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาล ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชน ตามขีดความสามารถ ตามกรอบการปฏิบัติงาน๔ ประการ

       ๒.๓ เพื่อปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม และชาติบ้านเมือง ให้กับนักศึกษาวิชาทหารและมีส่วนกระตุ้นจิตสำนึกของคนในชาติ ให้ตระหนักถึงความมีจิตอาสา รับผิดชอบต่อส่วนร่วม และบ้านเมือง

๓. เป้าหมาย

   ๓.๑ ด้านปริมาณ

       ๓.๑.๑ นักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปี ๑ สังกัด มณฑลทหารบกที่ ๒๑ เป็นสมาชิก รด.จิตอาสา ทุกนาย

       ๓.๑.๒ นักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปี ๒ - ๕ สังกัด มณฑลทหารบกที่ ๒๑ เป็นสมาชิก รด.จิตอาสา ทุกนาย


/ 4. วิธีการดำเนินงาน...

- 2 –

4. วิธีการดำเนินงาน

       4.๑ การจัดตั้งองค์กร “รด.จิตอาสา” จัดตั้งองค์กร นักศึกษาวิซาทหาร ที่เป็นรูปธรรม สามารถควบคุมได้ ติดต่อได้ ใช้งานได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

          4.๑.๑ คัดเลือกนักศึกษาวิชาทหารที่มีความสมัครใจ มีจิตสาธารณะ มีความพร้อม มีความเสียสละ

เป็น รด.จิตอาสา กรอกใบสมัครโดยใช้แบบฟอร์มรายละเอียด คิวอาร์โค้ดที่แนบ 1

          4.๑.๒ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ ประสานสถานศึกษาวิชาทหาร

เพื่อบูรณาการจัดตั้งองค์กร “รต.จิตอาสา” ร่วมกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและมีระบบการควบคุม การติดต่อ

การใช้งานที่มีประสิทธิภาพ โดยนักศึกษาวิชาทหาร จะสมัครที่ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบก

ที่ ๒๑ หรือ สถานศึกษาวิชาทหาร แต่ต้องประสานข้อมูลให้ถูกต้องตรงกัน

          4.๑.๓ สถานศึกษาวิชาทหาร เก็บรักษาใบสมัคร “รด.จิตอาสา” และจัดทำบัญชีคุม “รด.จิตอาสา”

ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ตามแบบฟอร์มคิวอาร์โค้ด ๑ และ ๒ ท้ายหนังสือ ส่งให้ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ จำนวน ๑ ชุด ( กรุณาส่งเป็นเอกสาร )

          4.๑.๔ จัดตั้งองค์กร “รด. จิตอาสา” ตามจำนวนนักศึกษาวิชาทหารของสถานศึกษาวิชาทหาร

โดยกำหนดให้ “รด.จิตอาสา” เป็นหน่วย เช่น ๑ หมู่ มี ๑๐ คน, ๒ หมู่ เป็น ๑ หมวด, ๒ หมวด เป็น ๑ กองร้อย เป็นต้น

          4.๑.๕ ให้ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ จัดครูฝึกเป็นที่ปรึกษา และผู้ประสานงาน กับ บก.ควบคุม รด.จิตอาสา ของสถานศึกษาวิชาทหาร

          4.1.๖ จัดตั้งข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และประหยัด รวดเร็ว เช่น ไลน์ (Line)

เฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นต้น

       4.2 จัดการฝึกอบรม : อบรม "รด.จิตอาสา" เกี่ยวกับ บทบาทและความสำคัญของ นศท. ต่อความ

มั่นคงของชาติ หลักสูตรพลเมืองดีวิถีประซาธิปไตย ฝึกอบรมหลักสูตร นศท.บรรเทาสาธารณภัย หลักสูตร

นศท.จราจร และ หลักสูตร นศท.พยาบาล รวมทั้งนโยบายที่สำคัญของ ทบ. และ นรด. ให้พร้อมสำหรับการช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนการอบรมการสร้างการรับรู้เรื่องสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

       4.๓ การใช้งาน "รด. จิตอาสา" ตามกรอบงาน ๔ ประการ

          4.๓.๑ งานเทิดทูสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ และ

พระบรมวงศานุวงศ์ กิจกรรมปกป้องการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ สนับสนุนโครงการจิตอาสาพระราชทาน ตามแนวทางพระราชดำริ "เราทำความดีเพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" เป็นต้น

          4.๓.๒ งานช่วยเหลือสังคมตามขีดความสามารถ เช่น กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์สถานที่

สำคัญ โบราณสถาน วัด ชุมชน การช่วยเหลือด้านการจราจร (รด. จิตอาสาจราจร) เป็นต้น

          4.๓.๓ งานบรรเทาสาธารณภัย เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยใช้ รด.จิตอาสา

ที่ฝึกอบรมแล้ว ลงพื้นที่ปฏิบัติงานหรือร่วมกับหน่วยอื่นๆ ทั้งนี้ต้องเป็นงานที่อยู่ในขีดความสามารถ และ ปลอดภัย

         


/ 4.3.5 งานสร้างการ...

- 3 -

          4.๓.๕ งานสร้างการรับรู้ : (พลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย และเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง

ของชาติ) โดยให้มีการอบรม รด.จิตอาสา ให้มีความรู้และมีข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำไปขยายผลสู่ประชาชน

ทั้งนี้ รด.จิตอาสา ดำเนินการร่วมกับ ให้ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิซาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ สถาบันศึกษา

วิชาทหาร หรือหน่วยทหารที่รับผิดชอบพื้นที่

       4.๔ สิทธิประโยชน์ "รด.จิตอาสา"

          4.๔.1 มีสิทธิ์ประดับเครื่องหมาย "รด.จิตอาสา" ที่แขนเสื้อด้านซ้ายบริเวณหัวไหลใต้ป้ายอักษร

รักชาติ ยิ่งชีพ

          4.๔.๒ สิทธิประโยชน์ด้านการเชิดชูเกียรติ รด.จิตอาสา ที่ปฏิบัติงานโดยไม่ขอรับสิทธิประโยชน์

ด้านเวลาเรียน ให้ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิซาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ พิจารณาตามความเหมาะสม

5. การรายงาน

       สถานศึกษาวิชาทหาร รายงานผลการปฏิบัติทันทีหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม รด.จิตอาสา ในช่องทางที่กำหนด (กลุ่ม ไลน์ Army teacher Korat/Chaiyaphum)

6. ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมิถุนายน ๒๕๖5 - พฤษภาคม ๒๕๖6 ตามคิวอาร์โค้ดที่แนบ ๒

7. สถานที่ดำเนินการ สถานศึกษาวิชาทหารพิจารณาเห็นสมควร

8. งบประมาณ งบประมาณของสถานศึกษาวิชาทหาร

9. การติดตามประเมินผล

       ประเมินผลจากกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน ที่สถานศึกษาวิชาทหารได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจากรายงานผลการปฏิบัติ ในช่องทางการรายงานที่กำหนดให้ โดยศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ เป็นผู้ประเมินเอง ตามผลงานของสถานศึกษาวิชาทหาร เพื่อนำผลการประเมินให้ส่วนที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป

10. การประเมินผล

       ประเมินผลองค์กร "รด.จิตอาสา" ตามแบบประเมินโดย ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑล

ทหารบกที่ ๒๑ เป็นผู้ประเมินผล รายละเอียดแบบประเมินผล หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน จะกำหนดรายละเอียดตามสถานการณ์ในห้วงเวลานั้นๆ


กรอบการปฏิบัติตามโครงการ รด.จิตอาสา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖

๑. ความมุ่งหมาย

       เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาวิชาทหาร เป็นเยาวชนที่มีจิตอาสา ปฏิบัติงานเพื่อสังคม เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ

๒. วัตถุประสงค์

       ๒.๑ เพื่อจัดตั้งองค์กร "รด.จิตอาสา" ในสังกัด มณฑลทหารบกที่ ๒๑ โดย รด.จิตอาสา ต้องสามารถ

ติดต่อได้ ควบคุมได้ และใช้งานได้

       ๒.๒ เพื่อใช้งาน "รด.จิตอาสา" ในการสร้างการรับรู้ และเป็นสื่อการในการประสาสัมพันธ์การชับเคลื่อนประเทศของรัฐบาล ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชน ตามขีดความสามารถ ตามกรอบการปฏิบัติงาน

๔ ประการ

       ๒.๓ เพื่อปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม และชาติบ้านเมือง ให้กับนักศึกษาวิชาทหารและมีส่วนกระตุ้นจิตสำนึกของคนในชาติ ให้ตระหนักถึงความมีจิตอาสา รับผิดชอบต่อส่วนร่วม และบ้านเมือง

๓. วิธีดำเนินการ

       ๓.๑ การจัดตั้งองค์กร "รด.จิตอาสา" จัดตั้งองค์กร นักศึกษาวิชาทหาร ที่เป็นรูปธรรม สามารถควบคุมได้ ติดต่อได้ ใช้งานได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

          ๓.๑.๑ คัดเลือกนักศึกษาวิซาทหารที่มีความสมัครใจ มีจิตสาธารณะ มีความพร้อม มีความเสียสละ

เป็น รด.จิตอาสา กรอกใบสมัครโดยใช้แบบฟอร์มรายละเอียด คิวอาร์โค้ดที่แนบ

          ๓.๑.๒ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ ประสานสถานศึกษาวิชาทหาร

เพื่อบูรณาการจัดตั้งองค์กร "รด.จิตอาสา" ร่วมกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและมีระบบการควบคุม การติดต่อ

การใช้งานที่มีประสิทธิภาพ โดยนักศึกษาวิชาทหาร จะสมัครที่ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบก

ที่ ๒๑ หรือ สถานศึกษาวิชาทหาร แต่ต้องประสานข้อมูลให้ถูกต้องตรงกัน

          ๓.๑.๓ สถานศึกษาวิชาทหาร เก็บรักษาใบสมัคร "รด.จิตอาสา" และจัดทำบัญชีคุม "รด.จิตอาสา"

ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ตามแบบฟอร์มคิวอาร์โค้ด ๑ และ ๒ ท้ายหนังสือ ส่งให้ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชา

ทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ จำนวน ๑ ชุด ( กรุณาส่งเป็นเอกสาร )

          ๓.๑.๔ จัดตั้งองค์กร "รด. จิตอาสา" ตามจำนวนนักศึกษาวิชาทหารของสถานศึกษาวิชาทหาร

โดยกำหนดให้ "รด.จิตอาสา" เป็นหน่วย เช่น ๑ หมู่ มี ๑๐ คน, ๒ หมู่ เป็น ๑ หมวด, ๒ หมวด เป็น ๑

กองร้อย เป็นต้น

          ๓.๑.๕ ให้ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ จัดครูฝึกเป็นที่ปรึกษา และผู้

ประสานงาน กับ บก.ควบคุม รด.จิตอาสา ของสถานศึกษาวิชาทหาร

          ๓.๑.๖ จัดตั้งข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และประหยัด รวดเร็ว เช่น ไลน์ (Line)

เฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นต้น

       ๓.๒ จัดการฝึกอบรม : อบรม "รด.จิตอาสา" เกี่ยวกับ บทบาทและความสำคัญของ นศท. ต่อความ

มั่นคงของชาติ หลักสูตรพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย ฝึกอบรมหลักสูตร นศท.บรรเทาสาธารณภัย หลักสูตร

นศท.จราจร และหลักสูตร นศท. พยาบาล รวมทั้งนโยบายที่สำคัญของ ทบ. และ นรด. ให้พร้อมสำหรับการ

ช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนการอบรมการสร้างการรับรู้เรื่องสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

       ๓.๓ การใช้งาน "รด. จิตอาสา" ตามกรอบงาน ๔ ประการ

          ๓.๓.๑ งานเทิดทูสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ และ

พระบรมวงศานุวงศ์ กิจกรรมปกป้องการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ สนับสนุนโครงการจิตอาสา

พระราชทาน ตามแนวทางพระราชดำริ "เราทำความดีเพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" เป็นต้น

          ๓.๓.๒ งานช่วยเหลือสังคมตามขีดความสามารถ เช่น กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์สถานที่

สำคัญ โบราณสถาน วัด ชุมชน การช่วยเหลือด้านการจราจร (รด. จิตอาสาจราจร) เป็นต้น

          ๓.3.3 งานบรรเทาสาธารณภัย เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยใช้ รด.จิตอาสา

ที่ฝึกอบรมแล้ว ลงพื้นที่ปฏิบัติงานหรือร่วมกับหน่วยอื่นๆ ทั้งนี้ต้องเป็นงานที่อยู่ในขีดดความสามารถ และ ปลอดภัย

          ๓.๓.๔ งานสร้างการรับรู้ : (พลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย และเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อความ

มั่นคงของชาติ โดยให้มีการอบรม รด.จิตอาสา ให้มีความรู้และมีข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำไปขยายผลสู่ประชาชน

ทั้งนี้ รด.จิตอาสา ดำเนินการร่วมกับ ให้ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิซาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ สถาบันศึกษา

วิชาทหาร หรือหน่วยทหารที่รับผิดชอบพื้นที่

       ๓.๔ สิทธิประโยชน์ "รด.จิตอาสา"

          ๓.๔.๑ มีสิทธิ์ประดับเครื่องหมาย "รด.จิตอาสา" ที่แขนเสื้อด้านซ้ายบริเวณหัวไหล่ใต้ป้ายอักษร

รักชาติ ยิ่งชีพ

          ๓.๔.๒ สิทธิประโยชน์ด้านการเชิดชูเกียรติ รด.จิตอาสา ที่ปฏิบัติงานโดยไม่ขอรับสิทธิประโยชน์

ด้านเวลาเรียน ให้ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ ๒๑ พิจารณาตามความเหมาะสม

๔. การรายงาน

       สถานศึกษาวิชาทหาร รายงานผลการปฏิบัติทันทีหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม รด.จิตอาสา ในช่องทางที่

กำหนด (กลุ่ม ไลน์ Army teacher Korat/Chaiyaphum) ตามแบบฟอร์มคิวอาร์โค้ด 3

๕. การประเมินผล

       ประเมินผลองค์กร "รด.จิตอาสา" ตามแบบประเมินโดย ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑล

ทหารบกที่ ๒๑ เป็นผู้ประเมินผล รายละเอียดแบบประเมินผล หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน จะกำหนด

รายละเอียดตามสถานการณ์ในห้วงเวลานั้นๆ

     ๑. ใบสมัคร รด.จิตอาสา                 ๒. บัญชีคุม รด.จิตอาสา              ๓.แบบฟอร์มการรายงานกลุ่มไลน์