โครงการ รด.Network - ฝ่ายเเตรียมการ

จาก ส่วนการศึกษา ศฝ.นศท.มทบ.21
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ชื่อโครงการ              :   โครงการ รด. Network , รด.Cyber และ รด.ต้นแบบนวัตกรรม

หน่วยเจ้าของโครงการ :   ศฝ.นศท.มทบ.๒๑

ผู้รับผิดชอบโครงการ   :   น.เตรียมการ ศฝ.นศท.มทบ.๒๑

๑. หลักการและเหตุผล

        โลกยุคใหม่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ต่อการพัฒนามากมาย และบนเส้นทางแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าว ก็มีสิ่งที่เป็นภัยคุกคามที่สำคัญมาสู่สังคมมนุษย์ด้วย ดังนั้น การเรียนรู้พัฒนาการของเทคโนโลยี จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องศึกษาให้รู้เท่าทันภัยคุกคามควบคู่กันไป เพื่อจะได้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด นักศึกษาวิชาทหารเป็นคนยุคดิจิทัล (Gen. Z) เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็วจากแหล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ดังนั้น การส่งเสริมให้ นศท. เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในด้านการเรียนการสอน การฝึก และการสร้างสรรค์ประโยชน์สู่สังคม จะเป็นประโยชน์ต่อ นศท. และสังคมส่วนรวม รวมทั้ง จะได้สร้างความตระหนักในเรื่องภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงให้กับเยาวชน

        ดังนั้น ศฝ.นศท.มทบ.๒๑ จึงให้ความสำคัญจัดทำโครงการ รด. Network , รด.Cyber และ    รด.ต้นแบบนวัตกรรมขึ้น เพื่อใช้เป็นเครือข่ายติดต่อสื่อสารและประสานงานในกลุ่ม นศท. และชุดครูฝึกฯ ตลอดจนผู้บังคับบัญชา และยังเป็นการเรียนรู้พัฒนาเทคโนโลยีอีกด้วย

๒. วัตถุประสงค์

        ๒.๑ เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่าย นศท. เชื่อมโยงกันทุกสถานศึกษา เป็นพลังกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ (รด. Network)

        ๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้ นศท. ใช้สื่อโซเชียลในทางสร้างสรรค์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียน

การสอนการฝึก และกิจกรรม นศท. รวมทั้ง เป็นต้นแบบด้านการใช้สื่อในทางสร้างสรรค์ (รด.Cyber)  

        ๒.๓ เพื่อติดต่อประสานงานในกลุ่มของ นศท. และครูฝึกฯ ตลอดจนผู้บังคับบัญชา

        ๒.๔ เพื่อส่งเสริมให้ นศท. ที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการฝึก นศท. โดยออกแบบสื่อการเรียน การสอน เครื่องช่วยฝึก เป็นต้น (รด.ต้นแบบนวัตกรรม)

๓. ระยะเวลาดำเนินโครงการ

ตลอดปีการศึกษา ๒๕๖๖ ห้วงตั้งแต่ มิ.ย. ๖๖ ถึง พ.ค. ๖๗

๔. เป้าหมาย

๔.๑ เชิงปริมาณ ครูฝึกฯ และ นศท. ในความรับผิดชอบ ศฝ.นศท.มทบ.๒๑

         ๔.๑.๑ ครูฝึก Idol ของหน่วย

         ๔.๑.๒ นศท. Idol ของสถานศึกษาในความรับผิดชอบ ศฝ.นศท.มทบ.๒๑

         ๔.๑.๓ นศท. ที่มีความสนใจในการใช้สื่อโซเชียล

๔.๒ เชิงคุณภาพ สร้างเครือข่ายการเผยแพร่และสร้างการรับรู้ที่กว้างขวาง

๕. การดำเนินการ

๕.๑ ขั้นที่ ๑ ประชุมชี้แจง วางแผน คณะทำงานและครูฝึกฯ ของหน่วย                              

๕.๒ ขั้นที่ ๒ ดำเนินการจัดโครงการ /กิจกรรม ตามห้วงเวลา                                                

๕.๒.๑ ออกคำสั่ง, บันทึกสั่งการ, ประชาสัมพันธ์ และอื่น ๆ                                        

๕.๒.๒ ส่วนที่เกี่ยวข้องนำแผน /นโยบายไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม                  

๕.๓ ขั้นที่ ๓ สอบถาม /ประเมินผล และรายงานผล

๖. สถานที่ดำเนินการ

๖.๑ พื้นที่ หน่วยฝึก ศฝ.นศท.มทบ.๒๑

๖.๒ พื้นที่ฝึก ศฝ.ย่อยฯ (สถานศึกษา) ในความรับผิดชอบของ ศฝ.นศท.มทบ.๒๑

๗. งบประมาณ

สนับสนุนจาก ศฝ.นศท.มทบ.๒๑ (งบรายรับสถานศึกษา)

๘. ปฏิทินการดำเนินการ

การดำเนินการ ปี ๒๕๖๖ ปี ๒๕๖๗
มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค.
วางแผน /
การปฏิบัติ / / / / / / / / /
ประเมินผล /
รายงานผล /

๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑ นศท. สามารถสร้างเครือข่ายกลุ่มของตน และเชื่อมโยงกับทุกสถานศึกษาได้ เป็นพลังกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ (รด. Network)

๙.๒ นศท. สามารถใช้สื่อโซเชียลในทางสร้างสรรค์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียน การสอนการฝึก และกิจกรรม นศท. รวมทั้ง เป็นต้นแบบด้านการใช้สื่อในทางสร้างสรรค์ (รด.Cyber)

๙.๓ สามารถติดต่อประสานงานในกลุ่มของ นศท. และครูฝึกฯ ตลอดจนผู้บังคับบัญชาได้

๙.๔ นศท. มีความคิดสร้างสรรค์และได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการฝึก นศท. โดยออกแบบสื่อการเรียน การสอน เครื่องช่วยฝึก เป็นต้น (รด.ต้นแบบนวัตกรรม)


คำสั่งโครงการกิจกรรม

-------------------------------------------